BenQ SW270C Review

BenQ SW270C Review

BenQ SW270C จอคอมแต่งภาพสีตรง

Review: BenQ SW270C จอคอมแต่งภาพสีตรง ฉบับใช้งานจริง

ก่อนจะดูรีวิว มาดูข้อมูลจากผู้ผลิตเบื้องต้นก่อนครับว่า จอคอมแต่งภาพ SW270C ตัวนี้มีดีอะไรบ้าง

BenQ SW270C
  • จอคอมแต่งภาพ IPS 2K
  • AQColor สีตรง ช่วงสีกว้าง100% sRGB / 99% Adobe RGB
  • มีฟังก์ชั่น HW Calibration / คาริเบรทพร้อมใช้จากโรงงาน
  • มั่นใจด้วยการรับรองจาก Pantone & CalMAN
  • มาพร้อม Hood และ Hotkey Puck
  • เชื่อมต่อง่ายด้วย USB-C

 

แสดงสีได้กว้างถึง 99% AdobeRGB

 

จอแสดงผลได้ถึง 10 บิต พันล้านสี

 

ควบคุมคุณภาพมาอย่างดี ใช้ต่อหลายๆจอแล้วแสดงผลได้ต่อเนื่อง

 

มี Hardware Calibration ทำให้การคาลิเบรทจอได้ผลที่ดีที่สุด

 

จอคอมแต่งภาพ ที่คาลิเบทมาแล้วจากโรงงาน

 

การแสดงผลแบบ HDR สำหรับงานวิดีโอ

 

มีพอร์ตเชื่อมต่อแบบ USB-C และ Shading Hood มาให้พร้อม

 

ข้อมูลเสป็คโดยละเอียด อ่านเพิ่มเติมได้จากลิงค์นี้ครับ BenQ SW270C

 

 

หลังจากที่ได้จอ BenQ SW270C (จอที่บอกว่าเป็น จอคอมแต่งภาพ ที่ออกแบบมาสำหรับช่างภาพโดยเฉพาะ) มาเทสต์เป็นเวลา 1 เดือนเต็ม
โดยผมเอามาต่อใช้งานเป็นจอหลักในการทำรูปของผมทุกวัน นับชั่วโมง ก็เกิน 200 ชั่วโมงแล้ว
 
วันนี้ถึงเวลาที่จะมารีวิวแบบเต็ม ๆ ให้ทุกท่านให้อ่านกันหละครับ
 
เริ่มตั้งแต่ unbox แกะกล่องกันเลยครับ
BenQ SW270C มาในกล่องที่แพ็คมาอย่างแน่นหนา แข็งแรง และมีขนาดใหญ่กว่าจอทั่วไปที่มีขนาดเดียวกันมากครับ
ขนาดกล่องมีความหนาถึง 42.5 เซ็น ยาว 73.5 และสูง 50 เซ็น ใหญ่กว่า จอ 27 นิ้วที่เคยเจอมาเลยครับ
 
ขนาดกล่อง 735x425x505 mm.

 

รายละเอียดข้างกล่อง

แจ้งว่าเป็นจอมอนิเตอร์ LCD ที่ใช้หลอดส่องสว่างด้านหลังเป็นแบบ LED
Model : SW270c-B
มีค่าความส่ว่าง : 300 nits
ค่าคอนทราสต์ : 1000:1
Respone Time : 5 ms.
ต่อ Input ได้แบบ HDMI, DP, USB-C
ความละเอียดสูงสุดที่ 2560x1440 พิกเซล
น้ำหนัก : 18.4 กิโลกรัม
และ Made in China ครับ
 
 
รายละเอียดข้างกล่อง

 

Special Features

เปิดกล่องมาดูข้างใน เจอที่แปะมาบนฝากล่องมี

ซ้ายสุด ซองใส่ใบรายละเอียดค่าการ Calibrate จากโรงงาน
ตรงกลาง เป็นรูปส่วนประกอบของในกล่อง
ด้านขวา แจ้งคุณสมบัติเด่นๆ

- มีโปรแกรมแคลของจอเองคือ Palette Master Elements ทำให้สามารถแคลจอแบบ Hardwareได้
- Hotkey Pucks อันนี้ผมชอบมาก ใช้ปรับจอได้สะดวกรวดเร็วขึ้นมากตอนแคลจอ
- Shading Hood ฮูดบังแสงรบกวนให้จอ อันนี้ก็เป็นของจำเป็นสำหรับจอแต่งภาพ
 
Special Features

 

 

Factory Calibration Report

ของจอนี้ ผมครอปบางส่วนที่สำคัญมาให้ชมครับ

 

Factory Calibration Report

 

ลองมาดูข้างในกันบ้างครับ
เปิดฝาปิดออก บนสุดก็จะเจอ ขาตั้งก่อน อันดับแรก
 

ยกกล่องส่วนบนนี้ออกก็จะเจอที่เหลือทั้งหมดครับ

หน้าตากล่องที่บรรจุจอมา แพ็คมาเป็นสัดส่วน เว้นช่องห่าง ดูแข็งแรงปลอดภัยดี เลยทำให้กล่องใหญ่มากไปด้วย

 

เริ่มประกอบ

โดยเอาแป้นฐาน มาขันเข้ากับขาตั้งจอ ใส่เข้าไปในล๊อค แล้วหมุนไปทางขวา แล้วขันเกลียวน๊อตยึดเข้าไปให้แน่น

เมื่อประกอบเสร็จ หน้าจาจะเป็นแบบนี้ ตรงกลางฐาน จะเป็นที่วางเก็บ Hotkey Pucks

 

ประกอบขาตั้งเสร็จ ก็ยกพาแนลจอมาวางลงบนกับโต๊ะ แล้วเอาขาตั้งไปประกบใส่ครับ
กดลงไปขาก็จะล๊อคกันเอง (เวลาจะเอาออก ก็กดปุ่ม ก็จะปลดล๊อค ยกออกได้)

 

จอ BenQ SW270C สามารถวางได้ 2 แบบ คือ แนวนอน หรือ แนวตั้ง ได้

 

แต่โดยปกติใช้งานทำรูป เราก็คงจะวางจอแนวนอนกันนะ ตัวขาตั้งจอ สามารถปรับสูงต่ำได้มาก ผมลองวัดแล้วเอามาให้ดูครับ

จอ วัดจากด้านล่าง ปรับได้ต่ำสุด 10 cm. สูงสุด 24.5 cm.

 

วัดด้านบน ปรับได้ต่ำสุดประมาณ 46.5 cm.

 

ปรับได้สูงสุดสุดประมาณ 61.5 cm. สุดไม้บรรทัด 2 ฟุตเลยครับ

 

พอร์ตเชื่อต่อต่าง ๆ ของจอที่มีมาให้

ช่องต่อสายต่าง ๆ ที่ต้องต่อ เวลาต่อสาย ผมชอบหมุนจอตั้ง เพื่อจะได้ต่อสายได้ง่ายขึ้นครับ

สายที่จำเป็นไล่จากล่างขึ้นไป

 

  1. สายไฟ A/C
  2. สายของตัว Hotkey Pucks
  3. สายสัญญาณภาพ ในที่นี้ผมเลือกใช้สาย DP (สายที่ให้มาเป็น DP to MiniDP)
  4. สาย USB แบบ Upstream เพื่อใช้กับพอร์ต USB ด้านข้างจอ กับใช้ตอนทำ Hardware Calibration (มีให้มา)

 

ด้านข้างจอด้านซ้าย สามารถเสียบต่อ USB ได้ 2 พอร์ท กับ 1 ช่อง SD card

 

ด้านบนจอ ตรง Hood มีช่องเปิด สำหรับใส่ตัวคาลิเบรทจอลงมา เวลาจะแคลจอได้

 

เมื่อประกอบจอเสร็จ ก็ต่อเข้าคอม เปิดเครื่องวอร์มจอไว้สักพัก แล้วก็เริ่มคาลิเบรทจอ เพื่อวัดผลกัน

 

ปุ่มปรับต่างๆของจออยู่ที่มุมขวาล่าง มีทั้งหมด 6 ปุ่ม ขวาสุดคือปุ่ม Power

 

หน้าตาโหมดต่างๆ ของจอที่มีมาให้ เริ่มจาก AdobeRGB ก่อนแล้วไล่ลงไปเรื่อย มีเยอะถึง 2 หน้า

 

โหมด Calibration

โหมด Calibration 1, 2, 3
สำหรับการแคลแบบ Hardware Calibration ด้วยโปรแกรมของทาง BenQ เอง
คือ Palette Master Elementsและ โหมด Custom1, 2
สำหรับการแคลด้วยโปรแกรมของตัว Calibrate เอง เช่น i1Profiler

 

ก่อนจะเริ่มแคลจอ
ก็ต้องติดตั้งโปรแกรม Palette Master Elements ก่อน
โดยดาวโหลดได้ที่ Palette Master Element

เมื่อติดตั้งโปรแกรมเรียบร้อย ก็ต่อตัวเครื่อง Calibrateจอ (i1, spyder) เข้ากับคอมพิวเตอร์ (ในที่นี้ผมใช้ตัว i1 DisplayPro ในการแคล)
**อย่าลืมต้องต่อสาย USB Upstream จากคอมมาเข้าจอด้วย แล้วก็เปิดโปรแกรม Palette Master Elements ขึ้นมา
 
การแคลมี 2 โหมดให้เลือก Basic กับ Advanced
...แน่นอน ผมต้องเลือกแบบ Advanced
กด Start ไปต่อหน้าต่อไป

 

Display Setting

หน้านี้จะเป็นการเลือกค่า Setting ให้เหมาะกับงานประเภทต่างๆ

Display Setting

ค่า Default จะเป็นแบบ Photographer (AdobeRGB) เพราะจอนี้เค้าโปรโมทว่าเป็น Photographer Monitor

โดยมีค่าที่เซ็ทให้ไว้ตามภาพ คือ

White Point : D65
Color Space : AdobeRGB
Luminance : 120
Gamma : 2.2



แต่ถ้าจะใช้งานแบบอื่น ก็มีให้เลือกหลากหลายครับ

ค่า Preset ทีทางโปรแกรมตั้งให้มา มี 6 แบบคือ

 

  • Photographer (AdobeRGB)
  • Web Design (sRGB)
  • Graphics (AdobeRGB)
  • Cinema (DCI-P3)
  • Designer ( Display P3)
  • Video Editing (Rec. 709)

 

และก็มีให้เรา Custom Setting เอง และ Save เก็บไว้เรียกใช้ได้
อย่างในภาพ ด้านล่างสุด จะมีค่าของผมเองชื่อ Photo-Somchai

ตามรูปด้าบน คือ Setting ที่ผมใช้งาน ใครจะตั้งตามก็ได้นะครับ ไม่สงวนลิขสิทธิ์

 

ถัดมา หน้า Measurement

พอร์ทการเชื่อมต่อ

หน้า Measurement เราสามารถเลือกว่าจะเซฟค่าคาลิเบรทไว้ที่โหมด Calibration ไหน เค้ามีให้เลือกได้ 3 อัน

แปลว่าเราสามารถแคล แล้วเซฟเก็บไว้เรียกใช้ได้ 3 แบบเลยที่เดียว อันนี้ก็ชอบ

เซ็ทเสร็จแล้วก็กด Start Measurement 

 

เค้าจะขึ้นรูปให้เราเอาตัวแคลไปวางแปะที่จอ ควรเอียงจอขึ้นเล็กน้อย

ตัวแคลจะแนบสนิทกับจอ หลังจอไม่ควรให้มีแสงไฟส่องมารบกวนขณะทำการแคลครับ

กด Continue แล้วก็นั่งรอสักครู่ครับ

 

แคลเสร็จ จะขึ้นหน้า Calibration Complete เป็นอันเสร็จขึ้นตอนการแคลจอ

Calibration Complete

 

 

ต่อมาเราก็จะมาวัดผลการแคลต่อ โดยกดที่ Validate Calibration

Validate Calibration

กดปุ่ม Start Measurement วางตัวแคลลงหน้าจออีกรอบ แล้วรอจนแคลเสร็จ 

 

Validate Report

Validate Report
 
หน้านี้ก็จะรายงานผลการวัด ดูตรงช่อง Test
ค่ามาตฐานที่ปรแกรมเซ็ทไว้คือ ค่าเฉลี่ยเดลต้าอี ไม่เกิน 2.0 , ค่าเดลต้าอีมากสุดไม่เกิน 4.0

จอ SW207C ตัวนี้ ได้ค่าเฉลี่ยเดลต้าอี ที่ 0.52
ค่าเดลต้าอี มากสุดที่วัดได้คือ 1.20
PASSED ผ่าน และก็ต่ำมากด้วยครับ คือตำ่กว่า 1 อีก ที่ 0.52
โดยทั่วไป มาตรฐานค่าเฉลี่ยเดลต้าอี สำหรับงานมืออาชีพคือต้องต่ำกว่า 2.0 ลงมาครับ
ถ้าได้ต่ำกว่า 1 ก็ถือว่า ยอดเยี่ยมมาก

 


 

ต่อไป ผมก็มาลองแคลด้วยโปรแกรมของ i1 เอง คือ โปรแกรม i1 Profiler เวอร์ชั่น 3

โปรแกรม i1 Profiler เวอร์ชั่น 3

แคลด้วยโปรแกรมของ i1 ผมเลือกเซฟไว้ที่โหมด Custom 2
ได้ค่า ได้ค่าเฉลี่ยเดลต้าอี ที่ 0.58 ครับ

 

ต่อมาลองเช็คค่าความสม่ำเสมอของความสว่างของจอ ดูครับ
ผมตั้งค่าความสว่างตอนแคลไว้ที่ 100

ผลลัพธ์ที่ได้ถือว่าเยี่ยมครับ จอมีค่าความสว่าง โดยรวมไม่เกิน 10 % สูงสุดด้านซ้ายคือ 7%

 

การต่อใช้งานกับ Notebook เป็นจอที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงผล

ต่อจอ SW270C เข้ากับ MBP ผ่านพอร์ต USB Type C

 จอ SW 270C นี้ มีพอร์ต USB Type C มาให้ด้วย ทำให้ไปต่อกับ Mac Book Pro รุ่นใหม่ ได้เลย

เหมาะกับคนที่ใช้ MBP มากครับ ใช้สายเส้นเดียวจบ ไม่ต้องต่อเข้า Adapter ให้วุ่นวาย

(สาย type-C เค้าไม่มีมาให้นะครับ ต้องหาซื้อเพิ่ม)

 

ตารางเปรียบเทียบจอ BenQ ซีรี่ย์ SW รุ่นต่าง ๆ

BenQ ซีรี่ย์ SW รุ่นต่าง ๆ

 

บทสรุป
 
บทสรุปหลังจากที่ได้ใช้งานจอ SW270C จริงทุกวันมากว่า 1 เดือน กว่า 200 ชั่วโมง
  • วัสดุของจอดูดี แข็งแรง ฐานและขาจอใหญ่มั่นคง จอปรับขึ้นลง และหมุนซ้าย-ขวา ได้สะดวก
  • Panel จอดี ให้สีและแสง สม่ำเสมอ ทั่วทั้งจอ
  • ภาค LUT เป็นแบบ 16 bit พัฒนาต่อจากรุุ่นก่อนที่เป็น 14 bit ทำให้การไล่โทนภาพเนียนขึ้นกว่าเดิม
  • มี Hood บังแสงอย่างดีมาให้พร้อม ไม่ต้องซื้อเพิ่ม เหมาะกับงานมืออาชีพ
  • เชื่อมต่อได้หลายแบบ ทั้ง HDMI, DP และ USB Type-C ต่อกับคอม Desktop หรือNotebook ได้หลากหลาย ทั้ง PC และ Mac
  • ราคาที่สูงกว่ารุ่นเดิม คือ SW2700PT ราคาประมาณ 2 หมื่น รุ่นนี้ SW270C ราคาไปอยู่ที่ 31,500.- (อ้างอิงจากราคาใน Lazada ) สูงกว่ารุ่นก่อน ประมาณหมื่นนึง
    ทำให้ต้องตัดสินใจว่าจะเอารุ่นใหม่ที่พัฒนา การแสดงผลที่ดีขึ้น มีพอร์ต Type C เพิ่มมาให้ กับมี HDR สำหรับงานวิดีโอ กับ LUT ที่เพิ่มเป็น 16 bit ไหม
  • สุดท้าย คำถามที่ผมต้องเจอบ่อยแน่ๆ หลังจากบทความนี้ออกไป ว่าน่าซื้อไหม?
    คำตอบ : สำหรับจอมอนิเตอร์ทำรูป ขนาด 27 นิ้ว แสดงสีได้ถึง Adobe RGB ในเรทราคาสามหมื่นต้น ณ ตอนนี้ ( 12-2019) ยังไม่จอไหนดีกว่า และน่าใช้กว่าตัวนี้ครับ
เขียนที่บ้าน
สมชายการช่าง
12/12/2019