How to Evaluating your negatives
How to Evaluating your negatives
แนะนำวิธีดูฟิล์ม ปัญหาต่างๆ และแนวทางแก้ไข
อีกเรื่องที่ไม่เห็นมีมีใครเขียน คนถ่ายฟิล์มคงอยากรู้ หลังจากได้รับฟิล์มที่ส่งล้างกลับมา หรือล้างเองแล้วเจอปัญหาต่างๆ
ทำไมฟิล์มเราเป็นอย่างนี้? เราพลาดตรงไหน หรือแล็บล้างฟิล์มเราไม่ดี?
....ผมเองที่เคยเป็นทั้งผู้เคยส่งฟิล์มล้าง และเคยเป็นแล็บรับล้างฟิล์ม เลยอยากเขียนเล่าให้ฟังกันให้เข้าใจแบบง่ายๆ ครับ
(หมายเหตุ : ภาพทั้งหมด ผมสำเนามาจากในหนังสือ Langford’s Starting Photography, Fith Edition )
a. Good exposure and development
Well exposed and processed black and white negative.
ถ่ายมาฟิล์มรับแสงพอดี และ ล้างฟิล์มดี เริ่มต้นด้วยการดูฟิล์มที่ดีก่อน
ฟิล์มที่ล้างดี เบสฟิล์มจะใส ตัวหนังสือของฟิล์ม จะดำและคมชัด ส่วนของภาพ จะเห็นรายละเอียดในส่วนมืดและส่วนสว่าง
b. Underdevelopment
Underdeveloped black and white negative.
อันเด้อดิวิลอปเม้นท์ หรือ ล้างฟิล์มบางไป ฟิล์มดูบาง ตัวหนังสือดูจาง เกิดจากเวลาในการสร้างภาพน้อยไป หรือน้ำยาสร้างภาพเจือจาง น้ำยาเสื่อสภาพ
c. Over developed
Overdeveloped black and white negative.
โอเว่อดิวิลอป ฟิล์มโดยรวมดูเข้มหนา ส่วนสว่างจะเข้มมาก ตัวหนังสือฟิล์มจะเข้มหนาจนดูบวม เกิดจากเวลาในการล้างนานไป อุณหภูมิในการล้างสูงไป หรือน้ำยาสร้างภาพเข้มข้นเกินไป
d. Under-fixed
อันเด้อฟิกซ์ เบสฟิล์มโดยรวมจะไม่ใส ขุ่น ดูฝ้าๆ เป็นสีน้ำนม เกิดจากน้ำยาFixer ไม่สด เสื่อมสภาพ ใกล้หมดอายุ หรือเวลาในการฟิกซ์น้อยเกินไป
ข้อดีคือ อาการนี้สามารถแก้ได้ โดยการนำฟิล์มมาลงน้ำยาFixer ซ้ำอีกรอบ แล้วเปลี่ยนเป็นน้ำยาที่สดใหม่
e. Fixed first
A black and white negative that was fixed first.
ล้างผิด โดยลงน้ำยา fixer ก่อนน้ำยาสร้างภาพ อาการนี้คือฟิล์มจะใสแจ๋ว ไม่มีภาพ เหมือนไม่ได้ถ่ายอะไรมาเลย ตัวหนังสือที่ขอบฟิล์มก็ไม่มี ใสไปด้วย
f. No agitation
A black and white negative processed with no agitation.
ไม่ได้เขย่าแทงค์ตอนล้างฟิล์ม อาการตามภาพคือ การสร้างภาพบนเนื้อฟิล์มไม่สม่ำเสมอ มีฟองหากาศเกิดขึ้น ปกติการล้างฟิล์มขาวดำ ต้องมีการเขย่าแทงค์ให้น้ำยามีการเคลื่อนไหว และไล่ฟองกาศทุกๆ 30 วิ หรือทุกๆ 1 นาที ตลอดเวลาในการลงน้ำยาสร้างภาพตัวแรก
g. Stuck film leader
A film leader stuck to the surface of the roll stops the chemistry getting access to correctly develop the negative.
หัวฟิล์มที่ใช้ตอนโหลดฟิล์มเข้ากล้อง ติดเข้ามาในภาพ อาการนี้แก้ไขโดยการตัดหัวฟิล์มออกทุกครั้งก่อนล้างฟิล์ม
h. Canister light leak
Processed negative suffering from light leak.
แสงรั่วเข้าแทงค์ล้างฟิล์ม อาการคือมีแสงเข้าขอบๆฟิล์ม ขอบฟิล์มจะดูหนาทึบๆขึ้นกว่าตรงกลาง หมั่นตรวจสอบสภาพแทงค์ และฝาปิดอยู่สม่ำเสมอ หรือตรวจล้างอาจจะปิดฝาแทงค์ไม่แน่นดีพอ
i. Underexposed
Film frame showing under exposure.
อาการจะคล้ายๆกับล้างฟิล์มบาง แต่อาการนี้จะต่างตรง ฟิล์มดูบาง แต่ตัวหนังสือยังเข้ม คมชัดอยู่ แปลว่าเราถ่ายมาอันเด้อเอง ฟิล์มรับแสงน้อย ไม่เกี่ยวกับการล้างฟิล์ม
j. Overexposed
Film frame showing overexposure.
อาการจะดูคล้ายๆกับล้างฟิล์มหนา แต่อาการนี้จะต่างตรง ฟิล์มดูหนาทึบ มองไม่ค่อยเห็นรายละเอียด แต่ตัวหนังสือยังคมชัดพอดี ไม่ดูหนาจนบวม แปลว่าเราถ่ายมาโอเว่อ ฟิล์มได้รับแสงไปครับ ไม่เกี่ยวกับเวลาในการล้างฟิล์ม
k. Fogged film
The sprocket area of the film has been fogged.
ฟิล์มฟ๊อก คือมีแสงรั่วมาโดนฟิล์ม อาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น ฝาหลังกล้องปิดไม่สนิท หรือมีแสงรั่วเข้ากล้องได้ หรือเผลอไปเปิดฝาหลังกล้องโดยยังถ่ายไม่หมด หรือยังไม่ได้หมุนฟิล์มกลับ หรือมาจากขึ้นตอนการล้าง อุปกรณ์ที่ใช้โหลดฟิล์มมีแสงรั่วเข้าได้
l. Crescent marks
Kinking the film when loading can cause crescentshaped marks on the processed negatives.
ฟิล์มมีรอยดำรูปครึ่งวงกลมในภาพ เกิดจากตอนโหลดฟิล์มเข้ารีลที่ใช้ล้างฟิล์ม ตอนโหลดมีการปีนร่อง ทำให้ฟิล์มหัก เกิดเป็นรอยตามภาพ
m. No exposure
A film frame showing no exposure.
No Exposurte คืออาการไม่มีการฉายแสงลงบนฟิล์ม ฟิล์มล้างออกมาจะใสแจ๋ว ไม่มีภาพ แต่ตัวหนังสือที่ขอบฟิล์มคมชัด อาจเกิดจาก
- ใส่ฟิล์มในกล้องหลุด ตอนใส่ฟิล์มเข้ากล้อง ควรสังเกตุว่า เมื่อเรากดชัตเตอร์แล้วขึ้นฟิล์ม ตัวหมุนฟิล์มบนกล้องตรงที่ใส่ฟิล์มหมุนตามไปด้วยหรือไม่
- ลืมเปิดฝาปิดเลนส์ สำหรับกล้องแบบ range finder
-กล้องเสีย
-หยิบฟิล์มผิดม้วน(ยังไม่ได้ถ่าย) ไปล้าง
เล่ามาได้ 13 แบบ น่าจะพอครอบคลุมอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับฟิล์มได้พอสมควรแล้วนะครับ
จบหละครับ
เขียนที่บ้าน
3/07/25019
สมชายการช่าง