BenQ SW270C Review
BenQ SW270C Review
Review: BenQ SW270C จอคอมแต่งภาพสีตรง ฉบับใช้งานจริง
ก่อนจะดูรีวิว มาดูข้อมูลจากผู้ผลิตเบื้องต้นก่อนครับว่า จอคอมแต่งภาพ SW270C ตัวนี้มีดีอะไรบ้าง
BenQ SW270C |
- จอคอมแต่งภาพ IPS 2K
- AQColor สีตรง ช่วงสีกว้าง100% sRGB / 99% Adobe RGB
- มีฟังก์ชั่น HW Calibration / คาริเบรทพร้อมใช้จากโรงงาน
- มั่นใจด้วยการรับรองจาก Pantone & CalMAN
- มาพร้อม Hood และ Hotkey Puck
- เชื่อมต่อง่ายด้วย USB-C
แสดงสีได้กว้างถึง 99% AdobeRGB |
จอแสดงผลได้ถึง 10 บิต พันล้านสี |
ควบคุมคุณภาพมาอย่างดี ใช้ต่อหลายๆจอแล้วแสดงผลได้ต่อเนื่อง |
มี Hardware Calibration ทำให้การคาลิเบรทจอได้ผลที่ดีที่สุด |
จอคอมแต่งภาพ ที่คาลิเบทมาแล้วจากโรงงาน |
การแสดงผลแบบ HDR สำหรับงานวิดีโอ |
มีพอร์ตเชื่อมต่อแบบ USB-C และ Shading Hood มาให้พร้อม |
ข้อมูลเสป็คโดยละเอียด อ่านเพิ่มเติมได้จากลิงค์นี้ครับ BenQ SW270C |
ขนาดกล่อง 735x425x505 mm. |
รายละเอียดข้างกล่อง
Model : SW270c-B
มีค่าความส่ว่าง : 300 nits
ค่าคอนทราสต์ : 1000:1
Respone Time : 5 ms.
ต่อ Input ได้แบบ HDMI, DP, USB-C
ความละเอียดสูงสุดที่ 2560x1440 พิกเซล
น้ำหนัก : 18.4 กิโลกรัม
และ Made in China ครับ
รายละเอียดข้างกล่อง |
Special Features
เปิดกล่องมาดูข้างใน เจอที่แปะมาบนฝากล่องมี
ด้านขวา แจ้งคุณสมบัติเด่นๆ
- มีโปรแกรมแคลของจอเองคือ Palette Master Elements ทำให้สามารถแคลจอแบบ Hardwareได้
- Hotkey Pucks อันนี้ผมชอบมาก ใช้ปรับจอได้สะดวกรวดเร็วขึ้นมากตอนแคลจอ
- Shading Hood ฮูดบังแสงรบกวนให้จอ อันนี้ก็เป็นของจำเป็นสำหรับจอแต่งภาพ
Special Features |
Factory Calibration Report
ของจอนี้ ผมครอปบางส่วนที่สำคัญมาให้ชมครับ
|
Factory Calibration Report |
ยกกล่องส่วนบนนี้ออกก็จะเจอที่เหลือทั้งหมดครับ |
หน้าตากล่องที่บรรจุจอมา แพ็คมาเป็นสัดส่วน เว้นช่องห่าง ดูแข็งแรงปลอดภัยดี เลยทำให้กล่องใหญ่มากไปด้วย |
เริ่มประกอบ
โดยเอาแป้นฐาน มาขันเข้ากับขาตั้งจอ ใส่เข้าไปในล๊อค แล้วหมุนไปทางขวา แล้วขันเกลียวน๊อตยึดเข้าไปให้แน่น เมื่อประกอบเสร็จ หน้าจาจะเป็นแบบนี้ ตรงกลางฐาน จะเป็นที่วางเก็บ Hotkey Pucks
ประกอบขาตั้งเสร็จ ก็ยกพาแนลจอมาวางลงบนกับโต๊ะ แล้วเอาขาตั้งไปประกบใส่ครับ |
จอ BenQ SW270C สามารถวางได้ 2 แบบ คือ แนวนอน หรือ แนวตั้ง ได้ |
แต่โดยปกติใช้งานทำรูป เราก็คงจะวางจอแนวนอนกันนะ ตัวขาตั้งจอ สามารถปรับสูงต่ำได้มาก ผมลองวัดแล้วเอามาให้ดูครับ
จอ วัดจากด้านล่าง ปรับได้ต่ำสุด 10 cm. สูงสุด 24.5 cm. |
วัดด้านบน ปรับได้ต่ำสุดประมาณ 46.5 cm. |
ปรับได้สูงสุดสุดประมาณ 61.5 cm. สุดไม้บรรทัด 2 ฟุตเลยครับ |
พอร์ตเชื่อต่อต่าง ๆ ของจอที่มีมาให้
ช่องต่อสายต่าง ๆ ที่ต้องต่อ เวลาต่อสาย ผมชอบหมุนจอตั้ง เพื่อจะได้ต่อสายได้ง่ายขึ้นครับ |
สายที่จำเป็นไล่จากล่างขึ้นไป |
- สายไฟ A/C
- สายของตัว Hotkey Pucks
- สายสัญญาณภาพ ในที่นี้ผมเลือกใช้สาย DP (สายที่ให้มาเป็น DP to MiniDP)
- สาย USB แบบ Upstream เพื่อใช้กับพอร์ต USB ด้านข้างจอ กับใช้ตอนทำ Hardware Calibration (มีให้มา)
ด้านข้างจอด้านซ้าย สามารถเสียบต่อ USB ได้ 2 พอร์ท กับ 1 ช่อง SD card |
ด้านบนจอ ตรง Hood มีช่องเปิด สำหรับใส่ตัวคาลิเบรทจอลงมา เวลาจะแคลจอได้ |
เมื่อประกอบจอเสร็จ ก็ต่อเข้าคอม เปิดเครื่องวอร์มจอไว้สักพัก แล้วก็เริ่มคาลิเบรทจอ เพื่อวัดผลกัน |
ปุ่มปรับต่างๆของจออยู่ที่มุมขวาล่าง มีทั้งหมด 6 ปุ่ม ขวาสุดคือปุ่ม Power
หน้าตาโหมดต่างๆ ของจอที่มีมาให้ เริ่มจาก AdobeRGB ก่อนแล้วไล่ลงไปเรื่อย มีเยอะถึง 2 หน้า |
โหมด Calibration
โหมด Calibration 1, 2, 3 สำหรับการแคลแบบ Hardware Calibration ด้วยโปรแกรมของทาง BenQ เอง คือ Palette Master Elementsและ โหมด Custom1, 2 สำหรับการแคลด้วยโปรแกรมของตัว Calibrate เอง เช่น i1Profiler |
ก็ต้องติดตั้งโปรแกรม Palette Master Elements ก่อน
**อย่าลืมต้องต่อสาย USB Upstream จากคอมมาเข้าจอด้วย แล้วก็เปิดโปรแกรม Palette Master Elements ขึ้นมา
การแคลมี 2 โหมดให้เลือก Basic กับ Advanced ...แน่นอน ผมต้องเลือกแบบ Advanced กด Start ไปต่อหน้าต่อไป |
Display Setting
หน้านี้จะเป็นการเลือกค่า Setting ให้เหมาะกับงานประเภทต่างๆ
Display Setting |
ค่า Default จะเป็นแบบ Photographer (AdobeRGB) เพราะจอนี้เค้าโปรโมทว่าเป็น Photographer Monitor
White Point : D65
Color Space : AdobeRGB
Luminance : 120
Gamma : 2.2
แต่ถ้าจะใช้งานแบบอื่น ก็มีให้เลือกหลากหลายครับ |
ค่า Preset ทีทางโปรแกรมตั้งให้มา มี 6 แบบคือ
- Photographer (AdobeRGB)
- Web Design (sRGB)
- Graphics (AdobeRGB)
- Cinema (DCI-P3)
- Designer ( Display P3)
- Video Editing (Rec. 709)
และก็มีให้เรา Custom Setting เอง และ Save เก็บไว้เรียกใช้ได้
อย่างในภาพ ด้านล่างสุด จะมีค่าของผมเองชื่อ Photo-Somchai
ตามรูปด้าบน คือ Setting ที่ผมใช้งาน ใครจะตั้งตามก็ได้นะครับ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ |
ถัดมา หน้า Measurement
พอร์ทการเชื่อมต่อ |
หน้า Measurement เราสามารถเลือกว่าจะเซฟค่าคาลิเบรทไว้ที่โหมด Calibration ไหน เค้ามีให้เลือกได้ 3 อัน
แปลว่าเราสามารถแคล แล้วเซฟเก็บไว้เรียกใช้ได้ 3 แบบเลยที่เดียว อันนี้ก็ชอบ
เซ็ทเสร็จแล้วก็กด Start Measurement
เค้าจะขึ้นรูปให้เราเอาตัวแคลไปวางแปะที่จอ ควรเอียงจอขึ้นเล็กน้อย ตัวแคลจะแนบสนิทกับจอ หลังจอไม่ควรให้มีแสงไฟส่องมารบกวนขณะทำการแคลครับ กด Continue แล้วก็นั่งรอสักครู่ครับ |
แคลเสร็จ จะขึ้นหน้า Calibration Complete เป็นอันเสร็จขึ้นตอนการแคลจอ
Calibration Complete |
ต่อมาเราก็จะมาวัดผลการแคลต่อ โดยกดที่ Validate Calibration
Validate Calibration |
กดปุ่ม Start Measurement วางตัวแคลลงหน้าจออีกรอบ แล้วรอจนแคลเสร็จ
Validate Report
Validate Report |
จอ SW207C ตัวนี้ ได้ค่าเฉลี่ยเดลต้าอี ที่ 0.52
ถ้าได้ต่ำกว่า 1 ก็ถือว่า ยอดเยี่ยมมาก
ต่อไป ผมก็มาลองแคลด้วยโปรแกรมของ i1 เอง คือ โปรแกรม i1 Profiler เวอร์ชั่น 3
โปรแกรม i1 Profiler เวอร์ชั่น 3 |
แคลด้วยโปรแกรมของ i1 ผมเลือกเซฟไว้ที่โหมด Custom 2
ได้ค่า ได้ค่าเฉลี่ยเดลต้าอี ที่ 0.58 ครับ
ต่อมาลองเช็คค่าความสม่ำเสมอของความสว่างของจอ ดูครับ
ผมตั้งค่าความสว่างตอนแคลไว้ที่ 100
ผลลัพธ์ที่ได้ถือว่าเยี่ยมครับ จอมีค่าความสว่าง โดยรวมไม่เกิน 10 % สูงสุดด้านซ้ายคือ 7% |
การต่อใช้งานกับ Notebook เป็นจอที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงผล
ต่อจอ SW270C เข้ากับ MBP ผ่านพอร์ต USB Type C |
จอ SW 270C นี้ มีพอร์ต USB Type C มาให้ด้วย ทำให้ไปต่อกับ Mac Book Pro รุ่นใหม่ ได้เลย
เหมาะกับคนที่ใช้ MBP มากครับ ใช้สายเส้นเดียวจบ ไม่ต้องต่อเข้า Adapter ให้วุ่นวาย
(สาย type-C เค้าไม่มีมาให้นะครับ ต้องหาซื้อเพิ่ม)
ตารางเปรียบเทียบจอ BenQ ซีรี่ย์ SW รุ่นต่าง ๆ
BenQ ซีรี่ย์ SW รุ่นต่าง ๆ |
- วัสดุของจอดูดี แข็งแรง ฐานและขาจอใหญ่มั่นคง จอปรับขึ้นลง และหมุนซ้าย-ขวา ได้สะดวก
- Panel จอดี ให้สีและแสง สม่ำเสมอ ทั่วทั้งจอ
- ภาค LUT เป็นแบบ 16 bit พัฒนาต่อจากรุุ่นก่อนที่เป็น 14 bit ทำให้การไล่โทนภาพเนียนขึ้นกว่าเดิม
- มี Hood บังแสงอย่างดีมาให้พร้อม ไม่ต้องซื้อเพิ่ม เหมาะกับงานมืออาชีพ
- เชื่อมต่อได้หลายแบบ ทั้ง HDMI, DP และ USB Type-C ต่อกับคอม Desktop หรือNotebook ได้หลากหลาย ทั้ง PC และ Mac
- ราคาที่สูงกว่ารุ่นเดิม คือ SW2700PT ราคาประมาณ 2 หมื่น รุ่นนี้ SW270C ราคาไปอยู่ที่ 31,500.- (อ้างอิงจากราคาใน Lazada ) สูงกว่ารุ่นก่อน ประมาณหมื่นนึง
ทำให้ต้องตัดสินใจว่าจะเอารุ่นใหม่ที่พัฒนา การแสดงผลที่ดีขึ้น มีพอร์ต Type C เพิ่มมาให้ กับมี HDR สำหรับงานวิดีโอ กับ LUT ที่เพิ่มเป็น 16 bit ไหม - สุดท้าย คำถามที่ผมต้องเจอบ่อยแน่ๆ หลังจากบทความนี้ออกไป ว่าน่าซื้อไหม?
คำตอบ : สำหรับจอมอนิเตอร์ทำรูป ขนาด 27 นิ้ว แสดงสีได้ถึง Adobe RGB ในเรทราคาสามหมื่นต้น ณ ตอนนี้ ( 12-2019) ยังไม่จอไหนดีกว่า และน่าใช้กว่าตัวนี้ครับ