วิธีคำนวณหาค่า Exposure ด้วย ZoneSystem Notebook
วิธีคำนวณหาค่า Exposure ด้วย ZoneSystem Notebook
วิธีคำนวณหาค่า Exposure ด้วย ZoneSystem Notebook
.
นี่คือบทความแรก ของปี 2020 เลยครับ
.
...เมื่อวานสอนคลาสถ่าย LF รุ่นที่ 8 ไป ตอนถ่ายสอนวิธีจดบันทึก และคำนวณหาค่าต่างๆ ในสมุด เพื่อหาค่าที่จะ Expose ได้แม่นยำ คิดว่าหลายคนอาจจะฟังไม่ทัน หรือไม่เข้าใจในหลายจุด เลยมาเขียนเป็นบทความไว้ให้อ่านดีกว่า
ใครสงสัย ก็ส่งลิงค์ให้อ่าน หรือกลับมาอ่านทบทวนได้เรื่อยๆ วิธีนี้น่าจะดี
ส่วนคนทั่วไปสงสัยก็เข้ามาอ่านได้ครับ ขออย่างเดียว อย่าก๊อปปี้ไปเขียนใหม่ใส่ชื่อตัวเอง หรือเอาไปสอนต่อน๊ะ มันบาป
... เริ่มหละนะ
.
ภาพปกหลังสมุดจด ด้านหน้า และหลัง
.
เนื่องจากกระบวนการถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์ม LF 4x5 นิ้ว มีขั้นตอนต่างๆมาก เลยต้องใช้วิธีจดลงสมุด และคำนวณหลายขั้นตอน ก่อนจะกดชัตเตอร์ได้ ผมเลยทำเป็นสมุดพกเล่มเล็กๆ ขนาด A5 (A4 พับครึ่ง) เพื่อให้ตัวเอง และ นร. ได้ใช้กันในการออกไปถ่ายภาพ
เวลานำไปใช้งาน ข้างในจะเป็นหน้าคู่ สำหรับการถ่าย 1 ภาพ ตามภาพด้านล่าง
.
ด้านในสมุดจด
.
วิธีใช้งาน
หลังจาก เลือก Subject ที่จะถ่ายได้แล้ว กางขา-ตั้งกล้อง จัดคอมโพสต์ภาพเรียบร้อยแล้ว
.
.
1. วาดเสก็ตภาพร่างที่จะถ่ายลงในสมุด ด้านขวาบน
2. วัดแสงตามจุดต่างๆ ที่สำคัญของภาพ ที่ต้องการเก็บรายละเอียด เช่น ดีเทลในชาโด้ว์ โซน 3 และ ดีเทลในส่วนไฮไล้ท์ โซน 7-8
3. ปรับให้เครื่องวัดแสง โชว์ค่าเป็น EV
.
.
.
ตามภาพด้านบน ตรงรากไม้ วัดได้ EV 10, องค์พระประธาน วัดได้ EV 15 ,ท้องฟ้า วัดได้ EV 16
4. กรอกค่า EV ที่วัดได้ลงในตารางผมเลือกเอา รากไม้ เป็นชาโดว์(EV 10) วางไว้โซน 3
ตัวองค์พระ (EV 15) จะมาตกที่โซน 8
ท้องฟ้า (EV 16) จะไปตกโซน 9
.
กรอกค่า EV ที่วัดได้ ลงในตารางวางโซน
.
จากที่วางโซน องค์พระไปอยู่โซน 8 แต่ใจผมอยากให้ส่วนไฮไล้ท์ องค์พระ อยู่ที่ 7 เลยจดไว้ว่า จะไปล้างฟิล์มลดโซนไฮไล้ท์ลง 1 โซน ด้วยการล้างแบบ N-1 เพื่อให้ไฮไล้ท์ จากโซน 8 ขยับลงมาอยู่โซน 7
.
.
5. ต่อมาก็คำนวนหาช่วงความชัด DOF เพื่อให้ได้ค่า F-number ที่จะใช้
ภาพนี้ผมอยากให้ชัดหมดตั้งแต่หน้าสุด ไปหลังสุด ผมวัดระยะจุด near point ได้ที่ประมาณ 4 เมตร แล้วก็ใช้แอป Hyper Focal Pro ในมือถือช่วยคำนวณ ใช้เลนส์ 150 มิล คำนวนแล้วได้ค่าที่ F/32 โดยต้องโฟกัสไปที่จุด Hyper focal ที่ระยะ 7 เมตร ภาพก็จะชัดหมดตั้งแต่ 3.4 เมตร ถึง อินฟินิตี้
(ตามภาพด้านล่าง)
.
แอปในมือถือ ชื่อ Hyper Focal Pro
.
6. คำนวนหาค่า สปีดชัตเตอร์ที่ใช้เบื้องต้น
โดยเอาเลข f/ 32 ไปกรอกในตารางใต้ภาพ
ที่นี้เราก็จะรู้ว่า เบื้องต้น เราใช้ F/32 ที่ EV 12
ก็ไปดูตาราง EV ในด้านซ้ายมือ
.
วงที่ F/32 แลัววงที่ EV 12 ก็ได้ค่าสปีตชัตเตอร์ = ที่ s. 1/4 sec.
7. คำนวนหาค่า Exposure จริง โดยไปหักค่าแฟคเตอร์ต่างๆที่อาจจะมี
ตามภาพคือ
7.1 ค่า Filter Factor ตามรูป ผมใส่ ฟอลเตอร์สีเหลือง เพื่อให้ท้องฟ้าเข้มขึ้น ซึ่งกินแสงไป 1 stop ก็กรอกลงไป
7.2 ค่า Extention Bellow สำหรับชดเชยแสงที่จะเสียไปเมื่อเรายืดเบลโล่ยาวๆ เช่นภาพถ่ายมาโคร ในภาพนี้ไม่มี ก็ข้ามไป
7.3 ค่า Reciprocity Failure ของฟิล์มที่สปีดชัตเตอร์ต่ำๆ (Long Exposure) รูปนี้ผมใช้ฟิล์ม ILFORD Delta 100 ซึ่งจะมีค่าชดเชย Reciprocity Failure ที่สปีดชัตเตอร์ต่ำกว่า 1 วินาที ภาพนี้คำนวนได้ 1/4 วินาที่ เลยไม่ต้องชดเชย
.
ค่าของฟิล์ม ILFORD DELTA 100 PRO
.
สรุป ข้อ 7.3 ค่า Reciprocity Failure ของฟิล์มนี้ มีต้องชดเชยจากฟิลเตอร์ไป 1 stop
ดังนั้นสปีดชัตเตอร์ เลยขยับจาก 1/4 มาเป็น 1/2 วินาทีแทน
.
.
บทสรุป ค่า Exposure รูปนี้
- ใช้ F/32 โฟกัสที่ระยะ 7 เมตร (จะชัดจาก 3.4 เมตรถึงอินฟินิตี้)
- สปีดชัตเตอร์ คือ 1/2 วินาที
- ด้วยเวลาล้างฟิล์มแบบ N-1
- ภาพ Final
จบครับ :)
สมชายการช่าง
10/02/2020